วิกฤต “โควิด” สอนอะไรเรา ธุรกิจหลังโควิดต้องสตรอง

ผ่านมุมมองของ “สุหฤท สยามวาลา” กรรมการผู้จัดการ
บริษัท ดี.เอช.เอ. สยามวาลา จำกัด

Suharit covid

                ในช่วงวิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ส่งผลกระทบที่รุนแรงไปทั่วโลก ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะธุรกิจการท่องเที่ยว สายการบิน และร้านอาหาร แต่ใช่ว่าธุรกิจในประเภทอื่นๆ จะไม่ได้รับผลกระทบด้วยเหมือนกัน ในวิกฤตย่อมมีโอกาสเสมอหากธุรกิจเหล่านั้นมีการปรับตัว เหมือนที่บริษัท ดี.เอช.เอ. สยามวาลา จำกัด มีการปรับตัวการทำงานและการบริหารให้เข้ากับสถานการณ์มาโดยตลอด จนทำให้บริษัทสามารถอยู่รอดและได้รับผลกระทบน้อยลงในช่วงที่วิกฤตไวรัสโควิด-19 ระบาด ณ ขณะนี้
วันนี้เราจะมาพูดคุยกับ “สุหฤท สยามวาลา” กรรมการผู้จัดการบริษัท ดี.เอช.เอ. สยามวาลา จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายแบรนด์เครื่องเขียนคุณภาพที่มีตำนานยืนยาวมากกว่า 100 ปี ในการแลกเปลี่ยนมุมมองถึงธุรกิจหลังโควิด-19 การปรับตัวของธุรกิจ การเปลี่ยน mindset ของผู้นำองค์กร เพื่อความอยู่รอดในโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้

I ความรู้สึกของผู้ประกอบการหลังเกิดการระบาดของโควิด-19

                หลายๆ ธุรกิจต้องประกาศปิดตัวไปค่อนข้างเยอะ แต่ก็มีอีกหลายธุรกิจที่ยังคงดำเนินกิจการอยู่ถึงแม้จะได้กำไรที่น้อยลงหรืออาจจะไม่ได้เลย แต่เชื่อว่าผู้ประกอบการหลายคนก็พร้อมที่จะเสี่ยง แม้จะรู้สึกท้อหรือเสียใจกันบ้างแต่ก็ต้องสู้ต่อไป
                “ผมก็ต้องเตรียมพร้อมอย่างเดียวเลย ไม่สนจุ้ยอะไรอย่างอื่น เพราะว่าเวลาเรามองชีวิตคนอีกตั้งเยอะแยะใช่ไหม ที่อยู่ภายใต้การบริหารจัดการของเรา แต่ปรากฎว่ามันไม่ใช่แค่เฉพาะเรา มันทุกคนหมด เท่าเทียมกันเลย น้ำท่วมหนักมันยังเป็นเฉพาะเรา คนอื่นเขาไม่ท่วม แต่โควิดนี้ท่วมทุกคน เท่าเทียมกัน ถ้าคนอื่นเขารอดเราต้องรอด และไม่ได้รอดบางคน ควรจะต้องรอดเกือบทุกคน เราจะต้องปรับ scenario ปรับความคิดบริษัท ที่ต้องมองว่ามันไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว เมื่อเกิดโควิด แล้วบริษัทเราหลังจากนี้คืออะไร ไม่ได้ห่วงเลยว่าวันนี้โควิดกำลังจะทำอะไร เพราะมันพังทั้งแถบอยู่แล้ว แต่ไอ้ที่หนักที่สุดก็คือ บริษัทเราจะเป็นยังไงหลังจากนี้ ก็ต้องเริ่มเกิดการคราฟท์ เกิดการออกแบบ เพราะว่าเวลามันพังพณาสูร (แปลว่าสูญเสียจนหมดเกลี้ยง) ยอดขายกว่า 80% หายหมดเนี่ย มันจะกระตุ้นความคิดว่าหลังจากนี้ ถ้าเราเจอแบบนี้อีก หรือถ้าเรากำลังจะเป็นบริษัทที่สตรอง มันจะต้องเป็นยังไง แต่โควิดเนี่ยข้อดีของมันคือ การกระตุ้นรูปแบบใหม่ในแง่ความคิดต่อบริษัท ความคิดต่อธุรกิจ และความคิดการบริหาร”

I เปรียบเทียบระหว่างน้ำท่วมกับโควิด อันไหนหนักกว่ากัน

                โควิดระบาดในครั้งนี้ส่งผลกระทบไปในหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐและภาคเอกชน สร้างความเดือดร้อนในภาคเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม เป็นอย่างมาก เมื่อนำมาเทียบกับช่วงเหตุการณ์น้ำท่วมที่ผ่านมาแล้วถือว่าต่างกันมาก
                “อันไหนหนักกว่ากัน ต้องเป็นโควิดแน่นอนอยู่แล้ว เพราะมันพังทั้งบริษัท น้ำท่วมโอเคยังมีของพัง โรงงานไม่มีอะไรเหลือ แต่คุณยังมีของอิมพอร์ตอยู่ ยังพอนำเข้าได้ ยังพอทำโน่นทำนี้ทดแทนได้ แต่โควิดคือยอดขายทั้งบริษัทหาย 80% ชีวิตนี้ก็ไม่เคยเจอแบบนี้ เพราะฉะนั้น น้ำท่วมโรงงานเนี้ยในแง่ของผมนี้กระจอกเลย โรงงานยังท่วมของเราใช่ไหม คนอื่นเขาก็ไม่ได้ท่วมด้วย มันก็ยังมีตัวอื่นที่ยังพอเป็นเฟืองเครื่องจักร แต่ไอ้น้ำท่วมโรงงาน เราจะฟื้นในบางส่วนของเราได้อย่างไร ตอนนี้คือฟื้นทุกส่วนขององค์กร ซึ่งโครตหินเลย มันหมดทั้งระนาบ เพราะฉะนั้นโควิด-19นี้ หนักกว่าร้อยเท่าของน้ำท่วม”

I สิ่งที่ทำให้ ดี.เอช.เอ. สยามวาลา ผ่านพ้นเหตุการณ์วิกฤตโควิด-19 ไปได้

                ในการดำเนินธุรกิจในช่วงโควิดระบาดนั้นถือว่าเป็นสภาวะที่ส่งผลในกิจการดำเนินไปอย่างยากลำบาก แต่เราเชื่อว่าธุรกิจแต่ละประเภท แต่ละบริษัท ล้วนมีจุดแข็ง จุดเด่นที่ไม่เหมือนกัน แต่ก็สามารถที่จะนำมาต่อยอด ผสมผสานให้เข้ากับสถานการณ์ในขณะนี้ได้ ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละที่จะมีจุดแข็งอะไร และจะนำมาปรับใช้ยังไง
                “มันคือทุกคนเลย เพราะบริษัทไม่ได้มีแค่ MD คนเดียว มันคือทุกคน เพียงแต่ MD อาจจะเป็นศูนย์กลางหน่อย คือทุกอันมันจะเข้าทางนี้ แต่ทุกอย่างมันก็จะผ่านไปได้ เพราะ MD มีคนไปช่วยทำเยอะแยะ”

Suharit covid

I การแก้ไขปัญหาในแง่ธุรกิจ ที่จะผ่านวิกฤตนี้ไปได้

                หลายๆ บริษัทมักจะประสบปัญหาทางด้านการเงิน การผลิต และการประสานงานต่างๆ กับต่างประเทศ ในช่วงที่โควิด-19 ระบาด ส่งผลให้บางธุรกิจต้องปิดตัวลงหรือเลิกกิจการไป แต่ถ้าหากเรามีวิธีในการแก้ไขปัญหาที่ดี ก็ช่วยให้เราเอาตัวรอดจากวิกฤษในครั้งนี้ได้ เหมือนที่คุณสุหฤทได้เคยบอกกับเราถึงวิธีการแก้ไขปัญหาในแง่ธุรกิจ นั้นก็คือการฟังปัญหา และไม่โกรธปัญหาที่เข้ามา
                “เวลาเราฟังปัญหา ปัญหาจะเข้ามาตลอดเลย มันจะเป็นแรงเสริม แรงกระตุ้น เพียงแต่อย่าไปจมอย่าไปทุกข์กับปัญหา เพราะว่าอย่างที่เล่าให้ฟังเมื่อกี้ใช่ไหมว่าเวลามันต้องจม แล้วเราจะต้องนั่งกระตุ้นสู้ เดี๋ยวของใหม่ก็จะมา เพราะฉะนั้นแหล่งกระตุ้นที่ดีที่สุดก็คือเสพความทุกข์รอบตัว
Solution เราคืออะไร ถ้า Sale คุณออกตลาดไม่ได้ คุณต้องคิดว่าหลังจากนี้จะไม่ออกตลาดแล้วจะทำยังไง ปรากฎว่าจาก 20 วันเหลือ 10 วันถูกไหม ก็คือเอาปัญหามาเพื่อเสพมัน แล้วคิดว่าจะแก้ยังไง แล้วมันก็เกิดช้อยส์ วิธีการสื่อสาร เราจะรู้เลยว่าเวลาจะต้องปรับองค์กรใหม่ออกมาให้มันพร้อม เราจะต้องไปทำความคิดคนด้วย เพราะว่าไอ้สิ่งที่เรานั่งเห็นนั่งเสพอยู่ เวลาที่เราจะต้องเปลี่ยน

 across the board มันต้องสื่อสาร เพราะฉะนั้นเวลาเราเก็บปัญหาไว้ แล้วเราจะสร้างทางแก้ มันก็จะไหลไปแบบนี้ เอาสิ่งที่อยู่ในหัวออกไปให้มากที่สุด เท่าที่จะมากได้ มันก็จะมีคนที่ยังไม่เข้าใจ ก็ให้ทำความเข้าใจ ไม่ยอมเข้าใจ ชวนให้เข้าใจ เสร็จแล้วถ้า เขาไปทำแล้วมีความสุข เราจะเจ๋งมาก”

I key หลักสำคัญที่สุดในการผ่านช่วงวิกฤตเหล่านี้ไปได้

                หลักใจความสำคัญในการบริหารธุรกิจ คือการใส่ใจให้รอบด้าน ครอบคลุม และให้ความสำคัญกับทุกรายละเอียดต่างๆ ทั้งเรื่องการผลิต การประกอบธุรกิจ ไปจนถึงพนักงานทุกคน
                “มันไม่มีสูตรสำเร็จเลย ผมก็ไม่เข้าใจว่าจะต้องบอกว่าอะไรนะ เพราะมันปล่อยไหลมากเลย คือว่ามันปล่อยไหลทางอารมณ์ ทางความรู้สึก ไม่พยายามบีบบังคับว่าวันนี้จะต้องเสร็จอะไร เพราะมันรู้สึกเหมือนเดี๋ยวๆ ยังพอมีเวลา แต่มันคิด คิด คิด แต่มันจะไม่ทุกข์เหมือนกับเวลาที่ทุกอย่างมันกำลังเดิน นึกออกไหม วันนี้อันนี้ต้องเสร็จ แต่มันจะมีความรู้สึกเดี๋ยวๆ เพราะว่าถ้าเราพลาดแล้วมันจะแย่ มันเหมือนไม่มีเวลาค่อยกำกับว่าอันนี้จะต้องเสร็จตอนนี้ เพราะฉะนั้นเราปล่อย ทุกอย่างไหลหมดเลย ไม่แน่พรุ่งนี้ปัญหาใหม่มามันอาจจะเข้ามากระตุ้นความคิดที่เป็นโซลูชั่นก็ได้ เพราะฉะนั้นเมื่อมีปัญหาเข้ามา ให้เราฟังและก็คิดต่อว่าปัญหามันคืออะไร ไม่ใช่ว่าให้ฟังวันนี้จะต้องแก้วันนี้ แต่ให้ฟังเป็นแรงผลักดันในการคิดวิธีการแก้ปัญหา

Suharit covid

เพราะเราไม่สามารถคาดการณ์โควิด-19 ได้ ว่าจะเกิดอะไรขึ้น

                “ผมว่าไม่มีใครคาดการณ์ด้วยทุกคนบนโลกนี้ ใครเคยผ่านเหตุการณ์นี้มาบ้าง ? ห้างก็ไม่ได้ไป วันนี้คุณเคยเจอไหมที่จะต้องนั่งทำงานที่บ้าน เพราะฉะนั้นไม่มีใครเคยเจอสถานการณ์แบบนี้หรอก แต่มันจะทำให้คุณมีความเป็นคนมากขึ้นอะ คุณจะรู้จักความสูญเสีย เช่น สูญเสียอิสรภาพ สูญเสียเงินทอง แต่มันจะสร้างความรับผิดชอบในตัวเอง จากที่ไม่เคยมานั่งมองอนาคตก็ได้กลับมามอง ในแง่ของผมมันเป็นความสวยงามอะ ถ้าคนรู้จักคิดรู้จักปรับ เวลาที่โดนตีกบาลแรงที่สุดมันจะไม่รู้สึกเจ็บมาก ถามว่าไอ้โควิดนี้จะแรงที่สุดมั้ย ? ไม่! แต่ชีวิตมันจะแรงขึ้นเรื่อยๆ ปัญหาที่จะเข้ามาในชีวิตคนทุกคน มันจะแรงขึ้นเรื่อยๆ แต่มันก็เป็นการฝึกให้เราพร้อมเสมอ”

I การทำงานหลังจากนี้มันจะกลายเป็น Normal หรือ New normal

                สำหรับวิกฤตโควิดที่เกิดขึ้น ส่งผลให้หลายบริษัทส่วนใหญ่มีความกังวลเรื่องความปลอดภัยและสุขภาพของพนักงาน โดยการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานจากรูปแบบเดิม เป็นการทำงานอยู่ที่บ้าน หรือ Work from home เพื่อให้สอดคล้องกับการทำงานรูปแบบ New normol และยังช่วยลดการระบาดของเชื้อโควิดในระหว่างการเดินทางมาทำงาน ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าเมื่อวิกฤตจบลง เจ้าของธุรกิจบางรายอาจประเมินลักษณะการทำงานภายในได้แล้วว่า การทำงานที่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพอาจจะไม่จำเป็นต้องให้พนักงานมารวมกันอยู่ที่บริษัทเสมอไป

                “ถ้าบริษัทไม่ปรับก็กลับมาเป็น normal เหมือนเดิม แต่ไม่ใช่กับที่นี้ กับบริษัทนี่ คนที่ผมเห็นชัดเจนที่สุดคือฝ่ายขาย บอกว่าต้องเห็นหน้าลูกค้าถึงจะขายได้ เทคโนโลยีเดี๋ยวนี้มันไปถึงไหนแล้ว ร้านค้าก็คงรำคาญ เข้าไปอยู่ได้ แล้วมีเวลาอยู่ 3 ชั่วโมง ตอนนี้จาก 3 เป็น 12 ชั่วโมง เราออกตลาดครึ่งวัน ผมคุยกับลูกค้าทีเดียว 90 คน ถามว่า hangout chat, google meet มันมีมานานยัง มี เคยคิดไหม ไม่เคย ยอมรับเลยใช่ไหม แต่วันนี้มันโอเคมากเลย คุยกับลูกค้า 2 – 3 ครั้ง ได้กระตุ้นยอดขาย ง่ายกว่าเดิมเยอะ คนที่ยังไม่ปรับยังอยู่เหมือนเดิม ขอโทษนะ เขาก็ต้องปรับไปอยู่องค์กรอื่นที่เหมือนเดิม ปรากฎว่าผมโชคดีที่ทุกคนปรับหมด เข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้าง แต่ต้องคุยกันให้เข้าใจ บางอย่างเราก็รักษาไว้ อย่าไป aggressive จนเกินไป มันก็จะเป็นตามนั้น หน่วยรุกนี้มันจะต้องเปลี่ยนทั้งชีวิต ส่วนหน่วยรับที่เป็นคน support ก็ต้องดูและมั่นใจว่ามันจะต้องเปลี่ยนยังไงถูกไหมครับ เมื่อก่อนนี้ถ้าจะต้องเช็คคน work from home ถามว่าต้องเช็คไหม ตอบเลยว่าต้องเช็ค แต่ก็เช็คไปสักพักเอง เพราะเมื่อก่อนนี้เราต้องตอกบัตรถูกไหม มันจะปรับหมดเลย แค่ปรับมากปรับน้อยเท่านั้นเอง”

                “ทุกปัญหาจะมาอีก ขึ้นอยู่กับว่าจะออกทางไหน ตอนนี้มาเลย เดี๋ยวจะดูว่าจะออกทางไหน เพราะว่าสมัยก่อนที่เราบอกว่าทุกปัญหาจะมีทางออกมันเป็น Safe Zone แต่วันนี้เวลามันจะมามันจะวิกฤตมาก ผมจะมองแล้วจะออกทางไหนดี มันเป็นการเพิ่มตัวเลือกนะ วิธีคิดมันก็จะเลือกไม่คิดทางเดียว แต่มันจะเพิ่มตัวเลือก”

Suharit covid

I อยากจะพูดกับทุกคนที่กำลังเจอปัญหาโควิตอย่างไรบ้าง

                “คืออย่าเศร้าวันนี้ สนุกกับอนาคตที่กำลังจะมา ว่าคุณคราฟท์มันยังไง ออกแบบมันยังไง จมทุกข์กับวันนี้ถามว่าจะจมทุกข์ไปทำอะไร มันมีคนจมทุกข์อีกเป็นสิบๆ ล้านอะ แต่ก็ไม่ใช่ไม่ทุกข์ มันก็ทุกข์ จะให้ทำไง แต่ที่มันตื่นเต้น และมันจะทำให้ความทุกข์ลดลงก็คือ 3 เดือนหลังจากนี้ แล้วชีวิตจะเป็นอย่างไง

คำว่า “ชีวิต” สำหรับผมหมายถึง ชีวิตบริษัทจะเป็นอย่างไร

                สรุปมันก็เลยเป็นความรู้สึกหดหู่ปนความตื่นเต้นนึกออกไหม มันเล่าไม่ถูก เมื่อเวลา 2 อย่างมันผสมกัน เดินเข้ามาโหเพิ่งทำบริษัทใหม่เสร็จ ไม่มีพนักงานเหลือสักคนหนึ่ง เดินคอตกเข้ามาเสร็จแล้วก็ต้องนั่งบอกว่า เดี๋ยวอีก 3 เดือนจะต้องทำอะไร ในขณะที่ไม่มียอดขายในวันนี้ มันเป็นการรวมความรู้สึกที่น่าสนใจมากเลย กระตุ้นตัวเองอยู่ตลอดเวลา แต่ก็ต้องแก้ปัญหานี้ต่อไป”