ในโลกที่มีความเร็วและความสะดวกสบายถูกนำมาเป็นตัวเลือกในการช่วยตัดสินใจและนำทางให้ (เกือบจะ) กับทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิตมนุษย์ ระบบดิจิทัลก้าวเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งได้อย่างแนบเนียบ แล้วก็ได้รับความสนใจไปไม่น้อยเลยทีเดียวจากคนในยุคศตวรรษที่ 22 นี้ แต่สุดท้ายแล้วเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยเหล่านี้ก็มิอาจเข้ามาแทรกแซงระบบ Manaul ได้ทุกอย่าง ถ้าคุณคือ นักออกแบบ นักสร้างสรรค์ นักเขียน ใครก็ตามที่ต้องพึ่งพาลายเส้นดินสอหรือปากกาในการ Draft อะไรสักอย่างที่คุณจินตนาการมันขึ้นมา จะรู้ดีว่าเครื่องเขียนเหล่านี้ไม่มีทางหายไปไหน ไม่มีวันตายไป เพียงแค่มันจะต้องปรับ มันต้องไม่หยุด
แช่แข็งเท่านั้นเอง

               เคาะสนิมความคิดเก่า ๆ เกี่ยวกับเครื่องเขียนออกจากสมองไปกับ "Managing Director" ของบริษัท ดี.เอช.เอ. สยามวาลา จำกัด หนึ่งในผู้บริหารองค์กรที่ชอบหาสิ่งใหม่ๆ มาปรับไม่ให้เหล่าเครื่องเขียนตกเทรนด์ และรู้ทันผู้บริโภคในยุคศตวรรษที่ 22 ตลอดเวลา รับฟังมุมมองพร้อมทำความเข้าใจให้มากขึ้นกับการทำธุรกิจสไตล์สุหฤท สยามวาลา ผู้รู้จริงในเรื่องเครื่องเขียนและเครื่องใช้สำนักงาน
 
 
 
โลกนี้ต้องมีเครื่องเขียน

                ลองคิดกันดูเล่น ๆ ว่า "ถ้าโลกนี้ไม่มีเครื่องเขียนจะเป็นอย่างไร ?" โลกที่ไร้การขีดเขียน มีแต่การใช้ปลายนิ้วสัมผัสบนหน้าจอโทรศัพท์ นวัตกรรมการสร้างสรรค์ที่สำคัญจะหายไป ไม่มีบทกลอนหรือบทกวีจากนักประพันธ์ชื่อดัง ไม่มีแบบเรียน ไม่มีหนังสือเรียน ไม่มีแบบอย่างที่จะทำให้เทคโนโลยีในสมัยนี้สามารถนำมาปรับให้มีความสะดวกขึ้นได้ ทุก ๆ อย่างล้วนมีผลกระทบต่อกัน

                “บ้านเมืองจะไม่มีรูปแบบ เราจะออกแบบอะไรไม่ได้แม้แต่อย่างเดียว เราจะสื่อสารกันไม่ได้ เรียนรู้ไม่ได้ เพราะไม่มีเครื่องมือในการสื่อสาร ฉะนัันเครื่องเขียนเป็นส่วนหนึ่งที่สร้างอะไรต่าง ๆ มากมาย รอบๆ ตัวเรา จะออกแบบตึกยังไง? นั่ง Imagine เหรอ? แล้วจะสื่อสารยังไง คุณจะเขียนแผ่นปิ๊งอิเล็กทรอนิกส์ยังไง จะร่างยังไง จะ draft ยังไง นวนิยายที่ชะโลมโลกจะเขียนออกมายังไง เครื่องเขียนมันสร้างประวัติศาสตร์มามากแค่ไหน แต่บางทีโลกก็ลืมมันไป ลืมกันหมด”
 
 
 
 
“ผมพูดถึง Art ก่อน Art ที่ทุกคนบอกว่ามันเป็น Apple pencil เข้ามาวาดรูปได้ แต่มันไม่มีกลิ่นสีไม้นะ ไม่มีทางที่มันจะมีเทกเจอร์ ไม่มีทาง… เวลาเขียนเช่นเดียวกัน เวลาคุณเขียนปากกา ถ้ามันเป็นอารมณ์แบบเดิม ถูกไหม? เขียนไม่ enjoy มันก็ทำไม่ได้ เพราะฉะนั้นหลาย ๆ อย่าง มันยังมีความรูป รส กลิ่น เสียง ของสิ่งที่คุณใช้อยู่ มันจะแปลกออกไปจากเดิมมากกว่า มันก็ไม่ได้ replace 100 เปอร์เซ็นต์ จะระบายสีด้วย oil color สีน้ำมัน ทำยังให้มันนูนแบบนั้น ทำยังไงให้มันมีกลิ่น มันทำไม่ได้
แต่เทกเจอร์ดูเป็นภาพแบน ๆ อาจจะได้"
 
 
 
                พูดถึงสีไม้แล้วทำให้คิดถึงอดีต แม้จะต้องย้อนอดีตไปไกลหน่อยถึงสมัยเรียนมัธยมก็ตาม เพราะคิดว่า ณ ตอนนี้ คงไม่ค่อยมีใครพกสีไม้ติดตัวไปมหาวิทยาลัย หรือไปที่ทำงานกันหรอก พกปากกาด้ามเดียวก็ถือว่าเก่งแล้ว แต่ก็พอจะเดาได้ว่าหลายคนเคยผ่าน moment ของการใช้สีไม้แล้วเช่นกัน ไม่ว่าใช้ในวิชาศิลปะ วิชาภาษาไทย วิชาสังคมศึกษา หรือใช้ในงานอดิเรกยามว่างก็ตาม อดีตในที่นี้ไม่อยากให้ทุกคนมองว่ามันเป็นเรื่องเก่าแก่ ที่ต้องโหยหามันอีกครั้งเมื่อกาลเวลาผ่านไป เพราะถ้ามองเช่นนั้น แสดงว่าเครื่องเขียนพวกนี้จะไม่สามารถปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัยได้ ยังคงเป็นระบบ manual ที่กำลังจะตายเพราะยืนหยัดอยู่ในความเป็น Original ในความคิดของคนรุ่นใหม่

                “เราอย่าไปคิดว่ามันจะต้องเป็นแบบวินเทจนะ คำว่า manual ในที่นี้มันคือการอยู่ร่วมกันแบบดิจิทัล อย่าไปคิดว่าปากกามันจะกลายเป็นเรื่องวินเทจ เหมือนกับขับรถ CHEVY เก่า ๆ หรือนั่งขับรถ Volk เต่าเก่า ๆ นึกออกไหม ที่มันเป็นวินเทจ บางรุ่นมันเป็นได้ แต่ตอนนี้มันไม่ใช่ มันจะต้องอยู่และผสมผสานกับโลกดิจิทัล ณ วันนี้ คนเราไม่สามารถเป็นดิจิทัลได้เพียงอย่างเดียว ขณะที่มันไม่มี manual มาประกอบ และก็ไม่สามารถเป็น manual เพียวๆ ได้เช่นเดียวกัน มันจะต้องรวมเข้าอยู่ด้วยกันเสมอ เวลาร่างไอเดีย หลายคนยังต้องเขียน ต้องอะไร เพื่อร่างไอเดีย แล้วเข้าสู่ระบบ ดิจิทัล ตกลงเราต้องเข้าใจตรงนั้นว่า ไม่ต้องเป็น manual หรือไม่ต้องเป็นดิจิทัล มันอยู่ด้วยกัน แต่วิธีการใช้ วิธีการสื่อออกมา มันจะเริ่มผสมกันมากกว่าเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง ต่อให้โลกมันโคตรดิจิทัล ในอนาคตก็อาจจะเป็นไปได้ แต่มันผสมกันได้ ยกเว้นสินค้าบางอันที่มันตาย ถูกแทนที่ด้วยความเหมือนกัน อย่างเช่น อักษรลอก อย่าไปตะบี้ตะบัน มันถูกแทนด้วยเทคโนโลยี มันถูกแทนแล้ว มันไม่มีความจำเป็นที่ต้องใช้ manual สมมติการเขียนแบบมันถูกแทนแล้ว ไม่มีใครมานั่งเขียนแบบเดิม เพราะมันยากกว่ากันเยอะ อย่างนั้นเราต้องยอมรับว่าเทคโนโลยี มันทดแทนหมด แต่เขียนตัวหนังสืออาจจะไม่ใช่ การเก็บเอกสารอาจจะไม่ใช่ มันจะอยู่ร่วมกัน”
เขา มันมีคนขี้เกียจจำนวนมากที่อยากมีระเบียบ เราจะสร้างสินค้าอะไรที่มันเข้ากับ life style กับคนรุ่นใหม่ ตกลงชีวิตหรือนวัตกรรมตอนนี้ที่มันกำลังจะเกิดขึ้น คือการเริ่มศึกษา Target เริ่มเปลี่ยนไปให้เข้ากับเขา แฟ้มจะไม่อยู่ในออฟฟิศอีกต่อไป มันจะอยู่ที่บ้านทุกบ้าน แล้วลักษณะมันต้องเป็นยังไงเพื่อให้มันเข้ากับบ้าน? ลักษณะมันต้องเป็นยังไงเพื่อให้เราจับโยนของเข้าไป เพราะของที่บ้านเราเยอะแยะ ตกลง... ‘ตาย’ ถ้าไม่รู้จักปรับ ไม่รู้จักสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ไม่รู้จักเข้าใจผู้บริโภค แต่มันจะไม่ตาย ถ้าเรารู้จักปรับมันไปเรื่อย ๆ เปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ให้เข้ากับยุคสมัย”
ถ้าผู้บริโภคสนใจแต่ Design มากกว่า Function

                “เขาจะไม่กลับมาซื้ออันเดิมอีก ถ้าเขียนไม่ติด ถ้าเขียนครึ่งหนึ่งแล้วมันหาย เขาก็จะหาสวยไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งเขาเจอสวยและดี เราต้องทำปากกาให้มันสวยและดี เพราะครั้งหน้าไม่กลับมาซื้อ ต่อให้สวยแต่เขียนไม่ได้ ไม่เป็นไร ถ้าคนซื้อแล้วไปเก็บ ก็เก็บไป แต่ถ้าสวยและดี และใช้ดี มันจะไปของมันเรื่อย ๆ ตกลงสวย แต่ใช้ไม่ได้ function ไม่มี แปปเดียวจบ”
แสดงว่าสุดท้ายแล้วต้องใช้ Design เข้าช่วยควบคู่ไปกับ Function อยู่ดี?

                “ผมเป็นคนประเภทไม่ Pure Art แต่รัก Pure Art มากเลย รักเสน่ห์ของมัน แต่ทำมาหากิน เขาเรียกว่า Commercial Art ความยากของมันก็คือ เราจะดึงความเป็น Pure Art ให้ขายของได้ยังไง จึงเกิดคำว่า Commercial Art Commercial Art ที่ดีต้องแรงของมัน สวย ไม่ใช่แค่ถ่ายรูป Product อย่าออกแบบ Product มาแล้วก็ดูตาย ๆ ด้าน ๆ เอ็งต้องเอา Art เข้ามา สีสันเป็นยังไง Curve รูปแบบต่าง ๆ มันจะปรับไปตามยุคสมัยได้ยังไง ตกลงมันเป็น Commercial Art ในแง่ของผม ถ้าจะเห็นปากการุ่นใหม่ ๆ ของเราที่มันออกมา มันจะไม่เป็น Correlational เท่าไหร่ มันจะเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ไม่กล้าออกปากกาสีขาว ก็ออกสีขาว ไม่กล้าออกแฟ้มพาสเทล ออกแฟ้มพาสเทล สมุดหรืออะไรต่าง ๆ เนี่ย รูปแบบ design เนี่ย มันมีความสำคัญมาก ๆ และถูกกำหนดด้วยรสนิยมคนซื้อ ถ้าเรายังเป็นปากกาน้ำเงิน แดง ดำ แบบเดิม เรา daed”
 
 
อย่าพอใจเครื่องเขียนในวันนี้

ทำไมบริษัท ดี.เอช.เอ. สยามวาลา… ถึงมีการพัฒนาสินค้าอยู่ตลอดเวลา ?
ทำไมบริษัท ดี.เอช.เอ. สยามวาลา… ถึงอยากให้สินค้ามีคุณภาพที่ดีกว่าวันนี้?
ทำไมบริษัท ดี.เอช.เอ. สยามวาลา… ถึงต้องการปากกาแบบนี้ ดินสอแบบนี้ ยางลบแบบนี้?
ทำไมปากกาของบริษัท ดีเอชเอ สยามวาลา ต้อง Geluloid...
“มันเกิดจากความไม่พอใจในความลื่นวันนี้!


...ทำไงให้เขียนสนุกขึ้นไปอีก เพราะเขียนเสร็จแล้ว มันก็เป็นก้อน ๆ หมึก เลอะมืออีก ทำไงให้ก้อนหมึกไม่ออก เราถ้าพอใจในสิ่งที่มันเป็น เราจะเขียนลูกลื่นฝืด ๆ แบบสมัยโบราณนู่น แต่มันเขียนไม่สนุก ทำไงให้มันสนุกขึ้น ทำไงให้มันลื่นขึ้นไปอีก สำหรับ Gel คือหมึกปากกาที่ลื่นที่สุดแล้ว เพราะเจลจะมาแทนลูกลื่น เขาก็กำลังทำปากกาลูกลื่นให้มันก็สู้ ต้องทำให้มันลื่นขึ้นไปอีก ให้มันไปถึงตรงนั้นให้ได้ หมึกมันต้องเหลว เหลวขึ้นมาก ๆ แต่พอเหลวขึ้นหมึกมันก็ไหลพรวดเยิ้มออกมาเลอะ ทีนี้จะทำยังไงให้มันไม่ไหลพรวดก็ต้องปรับเทคโนโลยี มันเกิดจากความไม่พอใจในประสิทธิภาพวันนี้ และนั่นคือการปรับตัว ถ้าลูกลื่นไม่ปรับความลื่น มันตาย ปากกาเจลแทนหมด นั่นแหละคือการต่อสู้ อย่าพอใจปากกาลูกลื่นที่เขียนในวันนี้ จะทำยังไงได้อีก เขียนแล้วเลอะ ต้องไม่เลอะ เขียนแล้วเป็นรอยกลม ๆ ต้องไม่เป็น”
แล้วตกลงเครื่องเขียนจะตายไหม?

“เอางี้! เครื่องเขียนจะตายไหม ไม่รู้ แต่ผมรู้อย่างเดียวว่ามันไม่มีทางอยู่แบบเดิม"

"ตายหรือเปล่ายากมากที่จะตอบ แต่ที่ตอบได้ทันทีเลยคือ ถ้ามันจะมีชีวิตอยู่ มันต้องไม่เป็นแบบเดิม อันนั้นคือจุดที่เราจะต้องคิด บางอย่างเราควบคุมไม่ได้ แต่สิ่งที่เราควบคุมได้คือ ความเป็นอยู่วันนี้ เราจะปรับยังไง เพื่อให้มันอยู่ได้ในวันพรุ่งนี้ อยู่ได้วันมะรืนนี้ เพราะฉะนั้นไม่มองว่าตายหรือไม่ ผมจะมองว่า "จะอยู่อย่างไรให้ยาวนานที่สุด" อันนี้จะเป็นตัวกระตุกความคิด ถ้าทุกคนยอมรับว่าเครื่องเขียนตายแน่ จะปรับทำไม? จะพัฒนาทำไม? แต่ถ้าเราคิดว่าจะอยู่อย่างไรให้คงกระพัน เราจะเริ่มคิดอีกแบบ มันจะไม่มีความตายเข้ามา มันจะไม่มีความเฉื่อยชาเข้ามา มันจะปรับไปเรื่อย ๆ จะปรับอีก จะปรับอีก เพราะจะอยู่แบบคงกระพันได้อย่างไร แต่จะอยู่ด้วยปริมาณเดิมหรือไม่ อีกเรื่องหนึ่ง ตกลงคำว่าตาย เฉยๆ ผมจะคิดว่าจะอยู่อย่างไรให้คงกระพัน จะอยู่อย่างไรให้เป็น Second wave เติม wave อีกต่อไป”